จะรู้ได้ไงว่าต้องใช้เครื่องช่วยฟังเมื่อไหร่ดี

ใช้เครื่องช่วยฟังเมื่อไหร่ดี

จะรู้ได้ไงว่าต้องใช้เครื่องช่วยฟังเมื่อไหร่ดี    

     เมื่อเริ่มรู้สึกว่าการได้ยินของตัวเอง หรือ คนรอบข้างมีอาการผิดปกติไป หากเป็นตัวคุณเองให้ลองสังเกตุอาการว่าเป็นแบบนี้บ้างหรือไม่

  1. การมีปัญหาการได้ยินตัวคุณเอง
    1.1 คนที่คุยด้วยต้องสะกิดบอกว่าเรียกหลายครั้งแล้วไม่ได้ยินหรอ โดยไม่ได้เป็นแค่คนเดียวแต่.        เป็นกับหลายๆคนด้วยกันที่บอกเหมือนกัน
    1.2 เวลาฟังใครพูดอะไรต้องหะ บ่อยครั้ง เพราะไม่ได้ยิน หรือ ได้ยินแต่ไม่แน่ใจว่าเขาพูดว่าอะไร 
    1.3 เวลาฟังเพลง หรือ โทรทัศน์ จะต้องเปิดเสียงดังกว่าปกติ และ รู้ว่าตัวเองเพิ่มเสียง
          ดังขึ้นๆ จนเกือบจะสุดเสียง
  1. การมีปัญหาการได้ยินสำหรับคนรอบข้าง หรือ คนในครอบครัว       
    2.1 เวลาตัวคุณเองคุยกับคนที่บ้าน ต้องพูดซ้ำๆ หลายๆครั้ง
    2.2 เวลาตัวคุณเองคุยกับคนที่บ้าน ต้องพูดด้วยเสียงดังกว่าเดิม และ ค่อยๆเพิ่มเสียงดังขึ้น
    2.3 หลายๆครั้งเวลาพูดอะไรไป เขาจะตอบกลับมาไม่ตรงกับที่ถามไป หรือ ตอบแค่อือ
          อย่างเดียว และเป็นหลายๆครั้ง
    2.4 เปิดเพลง หรือ โทรทัศน์เสียงดังมากๆ

     ถ้ามีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้นและลองประเมินดูว่าใช้เครื่องช่วยฟังเมื่อไหร่ดี เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าอาจจะมีปัญหาการได้ยิน แนะนำให้ลองพบแพทย์เพราะบ้างครั้งอาจจะเป็นเพราะขี้หูอุดตัน ไม่ใช้หูตึง หรือ หากไม่มีเวลา ก็สามารถตรวจออนไลน์กับทางเราได้โดย คลิกที่นี่

การใช้เครื่องช่วยฟังจะจำเป็นกับใคร

  • ผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน ที่ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยการทานยา หรือ การผ่าตัด
  • ปัญหาการได้ยิน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ปัญหาการได้ยินในเด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้

เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้การได้ยินดีขึ้นได้อย่างไร ?
     เครื่องช่วยฟังช่วยเป็นเครื่องที่มี การทำงาน 2 รูปแบบด้วยกันในเครื่องเดียว คือ ไมโครโฟน สำหรับรับเสียง และ ลำโพงสำหรับขยายเสียง หลักการก็ง่ายๆ เครื่องช่วยฟังจะมีกำลังขยายที่เหมาะสม และ ใช้เครื่องช่วยฟังเมื่อไหร่ดีตรงกับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน เมื่อผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยฟัง เสียงจะถูกรับเข้ามาในเครื่อง ประมวลผล และ ขยายเข้าไปในช่องหู ทำให้การได้ยินดีขึ้น

แต่ความชัดของเสียงนั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยด้วยกัน
     ปัจจัยที่ 1 คือ ระบบของเครื่องช่วยฟัง หากเป็นเครื่องช่วยฟังระบบอนาล็อค จะเป็นเครื่องที่รับเสียงมาและขยายทุกเสียงเลย ทำให้ได้มาซึ่งเสียงทุกเสียง ลม รถ เสียงคนพูด แต่ถ้าเป็นระบบดิจิตอล จะมีการทำงานร่วมกับ ไมโครชิพ ที่ใช้ในการประมวลผล ทำให้เสียงที่ได้จากเครื่องช่วยฟังดิจิตอล จะมีการแยกเสียงรบกวน และ ลดเสียงรบกวนลงได้

     ปัจจัยที่ 2 คือ ระบบประสาทการได้ยินของผู้ป่วย หากผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินเป็นเวลานาน เซลล์ประสาทการได้ยินอ่อนแอลง จึงไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังสมองได้ ทำให้เมื่อได้ยินแต่ก็ไม่รู้ว่าความหมายคืออะไร จึงจำเป็นต้องได้รับการฝึก และ ใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ประสาทการได้ยิน ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้การได้ยินดีขึ้น
ช่องทางการติดต่อ