เครื่องช่วยฟังศิริราช มีประเภทอะไรบ้างรวมทั้งประโยชน์ในการใช้

เครื่องช่วยฟังศิริราช

เครื่องช่วยฟังศิริราช มีกี่ประเภทและแต่ล่ะประเภทมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง?

ณ ขณะนี้ เครื่องช่วยศิริราชฟัง ที่จัดจำหน่ายอยู่ภายในหรือใกล้เคียงกับโรงพยาบาลศิริราชและของที่จัดจำหน่ายอยู่ที่ อื่นๆมีอยู่3 ประเภทใหญ่ๆคือ 1.เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง(Body hearing aid) กับ 2.เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู(Behind-The Ear hearing aid: BTE)และ 3.เครื่องช่วยฟังชนิดสั่งทำใส่ในช่องหู (Custom – made hearing aid) โดยเครื่องช่วยฟังประเภท สุดท้ายนี้ยังยังประกอบไปด้วยเครื่องช่วยฟังแบบเล็ก (Completely in the canal หรือ CLC)เครื่องช่วยฟังในช่องหูแบบปาน กลาง (In-the-Canal, ITC) และเครื่องช่วยฟังแบบเต็มหู(In The Ear หรือ ITE) โดยเครื่องช่วยฟังทั้ง 3 แบบใหญ่มีข้อดีและ ข้อด้อยต่างกันไปคือ 

เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง 

ข้อดี

  • ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ทำให้สะดวกต่อการใช้งานในผู้สูงอายุ
  • เร่งเสียงได้มาก
  • เครื่องช่วยฟังชนิดนี้ใช้แบตเตอรี่ชนิด AA ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด

ข้อเสีย 

  • มีสายรุงรังทำให้ดูเกะกะ
  • มีเสียงรบกวนจากการเสียดสีกับตัวเครื่องกับเสื้อผ้าและสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบข้าง

เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู 

ข้อดี 

  • มีความคล่องตัวในการใช้สูงเนื่องจากเป็นเครื่องแบบไร้สาย
  • สามารถปกปิดตัวเครื่องได้โดยการนำผมมาปิดในบริเวณหู

ข้อเสีย 

  • หาซื้อถ่านยาก
  • เครื่องสามารถชำรุดง่ายหากผู้ใช้งานเป็นบุคคลผู้มีเหงื่อออกเยอะ

เครื่องช่วยฟังชนิดสั่งทำใส่ในช่องหู 

ข้อดี 

  • ขั้นตอนในการใส่มีขั้นตอนเดียว
  • ตัวเครื่องมีขนาดเล็กช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูเหมือนคนที่ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง

ข้อเสีย 

  • มีปุ่มกดขนาดเล็กไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ
  • ต้องใช้ถ่านแบบเฉพาะขนาด 1.4 โวลต์ที่อาจจะไม่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด

เครื่องช่วยฟัง คืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้มีปัญหาทางการได้ยิน โดยภายในตัวเครื่องประกอบด้วย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง และเครื่องขยายเสียง ตัวเครื่องจะช่วยขยายสัญญาณเสียงให้ผู้ใส่ได้ยิน จากหูทั้งสองข้างเท่ากันทำให้ผู้ป่วยสามารถได้สามารถได้ยินสิ่งที่ผู้อื่นต้องการสื่อสารได้อย่างชัดเจนส่งผลให้สามารถพัฒนา ระบบความคิดและการสื่อสารให้ดีขึ้นและยังทำให้ผู้ที่สวมใส่สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมต่างๆในสังคมได้อย่าง ไร้อุปสรรคมากขึ้นอีกด้วย 

ในปัจจุบันผู้ที่ต้องการใช้เครื่องช่วยฟังสามารถเข้าถึงได้จากทุกโรงพยาบาลที่สามารถใช้สิทธิ์ประกันของภาครัฐทุก แห่งได้หลังผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์หู คอ จมูก ประจำโรงพยาบาลที่ท่านไปใช้บริการหรือตั้งอยู่ใกล้กับที่พักอาศัยของท่าน โดยเงินที่สิทธิ์ประกันสังคมของรัฐให้เบิกเพื่อซื้อเครื่องช่วยฟังได้คือ 12,500 บาท (รวมค่าบริการ) เงินของสิทธิ์ข้าราชการเบิกค่า เครื่องช่วยฟังได้ข้างละ 13,500 ต่อข้าง ส่วนสิทธิ์สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจจะแล้วแต่เงื่อนไขของหน่วยนั้นๆ ซึ่งเครื่องช่วย ฟังศิริราชจากโรงพยาบาลศิริราชหรือร้ายขายอุปกรณ์ทางแพทย์ในบริเวณใกล้เคียงก็เป็นหนึ่งในเครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งความน่าเชื่อถือทั้งยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านการรักษาของรัฐเข้ามาช่วยด้านค่าใช้จ่ายได้จึงเป็นหนึ่งใน ตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ใดก็ตามที่มีอุปสรรคทางด้านการได้ยิน 

สิ่งที่ทำให้ เครื่องช่วยฟังศิริราช และเครื่องช่วยฟังจากที่อื่นๆในแต่ล่ะประเภทมีความแตกต่างกันคือวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์ ฟังค์ชั่นในการใช้งาน (เครื่องช่วยฟังบางเครื่องเป็นแบบอนาล็อค บางเครื่องก็เป็นแบบดิจิตอล) ประสิทธิภาพในการตัดเสียง รบกวนรอบข้าง คุณภาพและระดับความดังของเสียง โดยเกณฑ์ในการเลือก เครื่องช่วยฟังศิริราช และจากที่อื่นๆ ควรจะต้อง พิจารณาจากคำวินิจฉัยของแพทย์ ความน่าเชื่อถือในแหล่งที่ซื้อ วิถีชีวิตของผู้ใช้ คุณภาพของกำลังขยายระดับเสียงของ เครื่องช่วยฟังเพื่อความสบายและปลอดภัยของผู้ที่จำเป็นต้องใช้งาน  

นอกจากนี้เมื่อซื้อไปแล้วผู้ใช้งานควรดูแลรักษาเสมอๆ โดยหมั่นนำเครื่องช่วยฟังไปอบในเครื่องอบของตัวเครื่อง ใช้ผ้าแห้ง เช็ดเครื่องอยู่เสมอ เช็คถ่านว่าถูกประเภทกับตัวอุปกรณ์ช่วยฟังหรือไม่กับหลีกเลี่ยงทำให้ตัวเครื่องตกกระทบจากที่สูงหรือใช้ เครื่องขณะอาบน้ำหรือว่ายน้ำและในที่เก็บเครื่องช่วยฟังควรมีสารดูดความชื้นเพื่อรักษาและยืดอายุการใช้งานของตัวเครื่องให้ อยู่กับผู้ใช้ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ช่องทางการติดต่อ